ข้ามไปเนื้อหา

สำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Thailand Creative Culture Agency)
สำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์
ภาพรวมหน่วยงาน
หน่วยงานก่อนหน้า
สำนักงานใหญ่1160 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 (เบื้องต้น)
ต้นสังกัดหน่วยงานนายกรัฐมนตรี

สำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (อังกฤษ: Thailand Creative Culture Agency; ชื่อเดิม: Thailand Creative Content Agency; ชื่อย่อ: THACCA) เป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทย ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของนายกรัฐมนตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทย[1] ซึ่งจะจัดตั้งขึ้นในอนาคตภายหลังร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ พ.ศ. ... มีผลบังคับใช้ โดยแปรสภาพจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) และกำกับดูแลโดยคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งชาติที่จะแปรสภาพมาจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ[2]

ประวัติ[แก้]

สำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เป็นหน่วยงานที่เตรียมจัดตั้งขึ้นตามร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ พ.ศ. ... ซึ่งปัจจุบันยกร่างเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยอยู่ระหว่างการประชาพิจารณ์ตั้งแต่วันที่ 1 - 30 เมษายน พ.ศ. 2567[2] ก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการกฤษฎีกาตามลำดับ ก่อนส่งกลับมายัง ครม. ในช่วงเดือนพฤษภาคม จากนั้น จะนำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 ภายในสมัยประชุมสามัญประจําปีครั้งที่ 3 ในช่วงไตรมาสที่ 3[3][4] และคาดว่าที่ประชุมจะอนุมัติทั้ง 3 วาระในช่วงเดือนธันวาคม จากนั้นจะเข้าสู่การพิจารณาในชั้นของวุฒิสภาไทย ชุดที่ 13 ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2568 และคาดว่าหากผ่านชั้นของวุฒิสภาแล้ว จะประกาศใช้พระราชบัญญัติเพื่อจัดตั้งองค์กรดังกล่าวได้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี พ.ศ. 2568[1]

ในบทเฉพาะกาลของร่างพระราชบัญญัตินี้กำหนดไว้ว่า หลังจากพระราชบัญญัตินี้บังคับใช้ ให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งชาติไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายในไม่เกิน 180 วัน จึงจะถือว่าคณะกรรมการถูกยุบเลิกและแปรสภาพโดยสมบูรณ์ ส่วนสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) จะถูกยุบเลิกและแปรสภาพเป็นสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ทันที แต่ให้คณะกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทำหน้าที่คณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการบริหารภายในไม่เกิน 180 วัน และให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ทำหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ไปพลางก่อนเช่นกัน[2]

ภารกิจ[แก้]

สำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ จะเป็นหน่วยงานยุทธศาสตร์ที่รวบรวมภารกิจและงบประมาณในการสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ไว้โดยสมบูรณ์ และมีการวางแผนงานร่วมกันทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทยในระดับนานาชาติ

โดยสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์จะทำหน้าที่สนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ ดังนี้

  1. จัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนการทำงานให้ไปในทิศทางเดียวกัน ต่อเนื่อง ชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อน
  2. สนับสนุนด้านการเงิน โดยการตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ รวมถึงกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสนับสนุนทุกอุตสาหกรรม
  3. สนับสนุนองค์ความรู้ โดยการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกด้านการตลาดทั้งในไทยและต่างประเทศ รวมถึงเผยแพร่และสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์พาวเวอร์
  4. สร้างผู้ประกอบการหน้าใหม่และส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขัน โดยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญา รับรองมาตรฐานอาชีพ ให้คำปรึกษาทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการ และกำหนดมาตรการส่งเสริมการค้าอย่างเสรีและเป็นธรรม
  5. เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ให้เอกชนสามารถติดต่อประสานงานหรือขออนุญาตจากภาครัฐในการทำงานอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ครบวงจร[5]

คณะกรรมการ[แก้]

ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการหลักจำนวน 4 คณะ คือ[2]

  1. คณะกรรมการนโยบายส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งชาติ มีหน้าที่จัดทำและติดตามยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ และแต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษหรือคณะอนุกรรมการ โดยแปรสภาพจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ
  2. คณะกรรมการพิเศษแต่ละด้าน มีหน้าที่ดำเนินภารกิจพิเศษตามที่คณะกรรมการนโยบายมอบหมาย
  3. คณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ มีหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปของสำนักงาน โดยแปรสภาพมาจากคณะกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
  4. คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ มีหน้าที่บริหารกองทุน

คณะกรรมการนโยบายส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งชาติ[แก้]

องค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งชาติตามมาตรา 7 มีดังนี้

กองทุน[แก้]

ตามมาตรา 53 ของร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ได้กำหนดให้จัดตั้ง กองทุนส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เพื่อใช้จ่ายในกิจการเกี่ยวกับการส่งเสริม ยกระดับ พัฒนา และสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานและผู้ประกอบวิชาชีพในอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์และผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมของประเทศไทย ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ ตามแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ โดยจะบริหารโดยคณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังนี้

  1. เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้
  2. เงินอุดหนุนจากรัฐบาลผ่านงบประมาณแผ่นดิน
  3. เงินที่คณะรัฐมนตรีโดยข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายให้โอนมาเป็นของกองทุน
  4. เงินรายได้จากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
  5. ค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ตามอัตราที่คณะกรรมการนโยบายกำหนดและคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ
  6. ผลตอบแทนหรือรายได้จากการลงทุน การร่วมทุน หรือการให้การส่งเสริมของสำนักงานหรือกองทุน รวมถึงผลประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นของสำนักงานหรือกองทุน
  7. เงินบริจาค
  8. เงินค่าปรับเป็นพินัยตามกฎหมายดังกล่าว
  9. เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนหรือที่กองทุนได้รับตามกฎหมาย รวมถึงเงินตามสัญญา
  10. ผลประโยชน์จากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน

โดยเงินและทรัพย์สินเหล่านี้จะเป็นของสำนักงาน เพื่อใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนโดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน

นอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบายยังสามารถเสนอคณะรัฐมนตรีให้โอนเงินหรือทรัพย์สินจากกองทุนอื่น ๆ มาเป็นของกองทุนส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ตามจำนวนที่กำหนด ดังนี้

  1. กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
  2. กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  3. กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
  4. กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ
  5. กองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย
  6. กองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย
  7. กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม
  8. ทุนหมุนเวียนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์

เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้กองทุนเหล่านี้ดำเนินการโอนทรัพย์สินภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มต้นปีงบประมาณถัดไป[2]

รายชื่อคณะอนุกรรมการ[แก้]

ภาพยนตร์[6][แก้]

ละครและซีรีส์[แก้]

ดนตรี[แก้]

ลำดับ ชื่อ อาชีพ/ตำแหน่ง ตำแหน่งในคณะอนุกรรมการ หมายเหตุ
1 วิเชียร ฤกษ์ไพศาล (นิค) อดีตรองกรรมการผู้อำนวยการ บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัท จีนี่ เรคคอร์ด ประธานอนุกรรมการ
2 ชลากรณ์ ปัญญาโฉม (กรณ์) กรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานดิจิทัลบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) อนุกรรมการ
3 ณฐพล ศรีจอมขวัญ นักร้อง นักดนตรี โปรดิวเซอร์
4 บุญเพิ่ม อินทนปสาธน์
5 ปิยะพงษ์ หมื่นประเสริฐดี ผู้ก่อตั้งและกรรมการบริษัท ฟังใจ จำกัด
6 พงศ์สิริ เหตระกูล (ต้อม)
7 พิเศษ จียาศักดิ์
8 ภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด (มหาชน)
9 มารีอา มู่ นักร้อง
10 สามขวัญ ตันสมพงษ์ (มอย) ผู้ก่อตั้งค่ายเพลง What the Duck
11 อรศิริ ประวัติยากูร (แอร์)
12 พรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส มิวสิค จำกัด แต่งตั้งเพิ่มเติม
13 พงศ์นรินทร์ อุลิศ (จ๋อง) ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แคท เรดิโอ จำกัด
14 คาล คงขำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วอร์นเนอร์ มิวสิค (ประเทศไทย) จำกัด
15 อนุชา โอเจริญ ผู้ก่อตั้งค่ายเพลง Rats Records
16 อนันต์ ลือประดิษฐ์ ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการอำนวยการสื่อ The People
17 นัดส์ เจดีย์ ผู้ก่อตั้ง Loudly Prefer
18 พลกฤต ศรีสมุทร กรรมการผู้จัดการ YUPP! Entertainment และ RAP IS NOW
19 ลลิส วรพชิรากูร อนุกรรมการและเลขานุการร่วม
20 ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ แต่งตั้งเพิ่มเติม
21 ชาคริต พิชญางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์

อาหาร[แก้]

กีฬา[แก้]

หนังสือ[แก้]

ออกแบบ[แก้]

การท่องเที่ยว[แก้]

เกม[แก้]

ลำดับ ชื่อ อาชีพ/ตำแหน่ง ตำแหน่งในคณะอนุกรรมการ หมายเหตุ
1 สิทธิชัย เทพไพฑูรย์ (ประธาน) กรรมการสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย ประธานอนุกรรมการ
2 ธนัช จุวิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทอิ๊กดราซิลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (YGG) อนุกรรมการ
3 ณัฐพร กาญจนภูมิ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
4 เนนิน อนันต์บัญชาชัย นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย
5 ปวิธ ถาวรเลิศรัตน์
6 รามิล ซาลฮานี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท Nanuq
7 วโรรส โรจนะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เด็กดี อินเตอร์แอคทีฟ จำกัด
8 สราวดี ผดุงศิริเศรษฐ์ ผู้ก่อตั้งร้านบอร์ดเกมลานละเล่น
9 สันติ โหลทอง นายกสมาคมกีฬาอีสปอร์ตแห่งประเทศไทย
10 สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย
11 อิศร์ เตาลานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เน็กซอน (ไทยแลนด์)
12 วัฒนชัย ตรีเดชา นายกสมาคมบอร์ดเกมแห่งประเทศไทย แต่งตั้งเพิ่มเติม
13 ช้องนาง วิพุธานุพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์กฎหมายศรีปทุม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม อนุกรรมการและเลขานุการ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 เปิดตัวเพจ THACCA ทางการ ลุยซอฟต์พาวเวอร์ อำนาจขึ้นตรงนายกฯ คาดชงครม.มี.ค.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "เปิดร่าง'พ.ร.บ.วัฒนธรรมสร้างสรรค์ฯ' ดึงเงิน'กองสลาก'-7 กองทุน ดัน'ซอฟต์พาวเวอร์' 11 สาขา". สำนักข่าวอิศรา. 21 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2024.
  3. "'พ.ร.บ.ซอฟต์พาวเวอร์'เข้าสภาฯสมัยหน้า 'รัฐบาล' ปักหมุดตั้ง 'THACCA' ปี 68". กรุงเทพธุรกิจ. 16 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "ระดมสมอง ค้นจุดแข็ง สร้างพายุหมุน ผลักดัน "ซอฟต์พาวเวอร์" ให้ไปถึงระดับโลก". ผู้จัดการออนไลน์. 29 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "'THACCA' ประกาศรายชื่อ คณะอนุกรรมการ 'ซอฟต์พาวเวอร์' 5 ด้าน". กรุงเทพธุรกิจ. 19 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. THACCA เปิดรายชื่อคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ‘ด้านภาพยนตร์’ โดยมี คุณชายอดัม รับตำแหน่งประธาน
  7. มะเดี่ยวชูเกียรติ-แก๊ปเปอร์ วรฤทธิ์ ผงาดนั่งอนุกรรมการซอฟต์พาวเวอร์ ด้านละคร-ซีรีย์
  8. 8.0 8.1 กก.ซอฟต์พาวเวอร์ ตั้งอนุฯเพิ่ม ด้าน ดนตรี-กีฬา-อาหาร ดึงบิ๊กค่ายเพลงดังเสริมทีม
  9. ตั้งเพิ่ม อนุกก.ซอฟต์พาวเวอร์ด้านหนังสือ-ออกแบบ มีปราบดา หยุ่น ด้วย...

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]